Sowing
Okra loves heat, so gardeners with short growing seasons may need to start their non-GMO emerald okra seeds indoors; plan to set them out 3-4 weeks after the last frost. Before planting the seeds, soak them overnight to encourage faster germination. Plant 2-3 seeds in one peat pot, and keep them at 80-90 degrees F until germination; thin to the strongest plant by cutting off the rest. When the air temperature reaches a consistent 60 degrees F, plant the seedlings in full sun 12-15″ apart in rows 3′ apart. For direct sowing in warmer climates, sow the non-GMO emerald okra seed 3/4″ deep and later thin the plants to 12-15″ apart.
Growing
When the seedlings reach a height of 4″, apply mulch to conserve moisture and control weeds. Keep the plants moist during dry weather. In cooler climates, it may be necessary to apply black plastic or provide row covers for adequate heat. Emerald okra does tolerate cooler temperatures, and is a good variety to grow in cooler climates.
Harvesting
Emerald okra should be harvested at 3″ for best taste and tenderness. This variety is spineless for a painless harvest.
วิธีการปลูก กระเจี๊ยบเขียว
@การเตรียมดิน ขุดไถดินด้วยผาล 3 ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วันเพื่อกำจัดโรค พืช และศัตรูพืช จากนั้นหว่านปุ๋ยคอกเสริมคอกเสริมธาตุอาหารในดินประมาณ 0.5-1 ต้นต่อไร่ อาจเลือกติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ หรือ เลือกปล่อยน้ำเข้าร่องแปลงก็ได้ จัดระยะห่างระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 1 เมตร (พร้อมร่องน้ำประมาณ 50 เซนติเมตร)
@วิธีปลูก กระเจี๊ยบเขียวสามารถทำการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำหมักชีวภาพนาน 15 – 20 นาที เพื่อกำจัดโรคที่อาจติดตามมากับเมล็ดพันธุ์ จากนั้นนำมาผึ่งให้แห้ง ในที่ร่ม ก่อนนำไปปลูกลงแปลงใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1 กิโลกรัม/ไร่ สามารถนำเมล็ดพันธุ์มาทำการเพาะปลูกได้ โดยเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ ตรงตามสายพันธุ์ที่ต้องการ จากนั้นนำลงแปลงปลูกได้เลย โดยใช้นิ้วจิ้มดินเป็นหลุมเล็กก่อนหยอดเมล็ดพันธุ์ประมาณ 3 เมล็ดต่อหลุม จากนั้นประมาณ 45 วัน จึงพร้อมเริ่มเก็บเกี่ยวได้
วิธีดูแลรักษากระเจี๊ยบเขียว
@การให้น้ำ ในกรณีติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ ควรรดน้ำทุก 2 วัน ครั้ง นานครั้งละ 10-15 นาทีหากต้องการปล่อยน้ำตามร่อง ควรให้อาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากกระเจี๊ยบเขียวเป็นพืช ที่ทนสภาพความแห้งแล้งได้ดี
@การใส่ปุ๋ย บำรุงด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักชีวภาพ ก่อนเข้าสู่ช่วงการเก็บเกี่ยว ใส่ ประมาณ 10-20 กิโลกรัม / ไร่ บำรุงเสริม และควรเสริมความต้านทานโรค ในช่วงระยะเก็บเกี่ยวฝักด้วยน้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบทุก 7-10 วันครั้ง หรือใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 การใช้ปุ๋ยไนโตรเจน อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กก./ไร่/ครั้งตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กก.ต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบเขียว
- ฝักอ่อนหรือผลอ่อนใช้เป็นผักจิ้มรับประทาน โดยนำมาต้มให้สุกหรือย่างไฟก่อน หรือนำมาใช้ทำแกงต่าง ๆ เช่น แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ใช้ใส่ในยำต่าง ๆ ใช้ชุบแป้งทอด ทำเป็นสลัดหรือซุปก็ได้
- เมนูกระเจี๊ยบเขียว เช่น แกงส้มกระเจี๊ยบเขียว แกงเลียงกระเจี๊ยบเขียว แกงจืดกระเจี๊ยบเขียวยัดไส้ แกงกะหรี่ปลาใส่กระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวผัดผงกะหรี่ ผัดเมล็ดกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบผัดขิงอ่อน ห่อหมกกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบต้มกะทิปลาสลิด ยำกระเจี๊ยบเขียว กระเจี๊ยบเขียวชุบแป้งทอด สลัดกระเจี๊ยบเขียว ชากระเจี๊ยบเขียว เป็นต้น
- สำหรับชาวอียิปต์มักใช้ผลกระเจี๊ยบรับประทานร่วมกับเนื้อสัตว์ หรือนำมาใช้ในการปรุงสตูว์เนื้อน้ำข้น สตูว์ผัก หรือนำไปดอง ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้จะใช้ผลอ่อนนำมาต้มเป็นสตูว์กับมะเขือเทศที่เรียกว่า “กัมโบ้” หรือทางตอนใต้ของอินเดียจะนำผลกระเจี๊ยบมาผัดหรือใส่ในซอสข้น ส่วนชาวฟิลิปปินส์จะใช้กินเป็นผักสดและนำมาย่างกิน และชาวญี่ปุ่นจะนำมาชุบแป้งทอดกินกับซีอิ้ว
- ดอกอ่อนและตาดอกสามารถนำมารับประทานได้เช่นกัน
- รากกระเจี๊ยบสามารถนำมารับประทานได้ แต่จะค่อนข้างเหนียวและไม่เป็นที่นิยม
- แป้งจากเมล็ดแก่เมื่อนำมาบดสามารถนำมาใช้ทำเป็นขนมปังหรือทำเป็นเต้าหู้ได้
- ใบตากแห้งนำมาป่นเป็นผงใช้โรยอาหารและช่วยชูรสชาติอาหารได้
- ฝักที่นำมาตากแห้งแล้ว สามารถนำมาใช้ทำเป็นชาไว้ชงดื่มได้
- เมล็ดกระเจี๊ยบนำมาคั่วแล้วบดสามารถนำมาใช้แทนเมล็ดกาแฟได้ หรือนำใช้ในการแต่งกลิ่นกาแฟ
- ใบกระเจี๊ยบนำมาใช้เป็นอาหารวัวหรือใช้เลี้ยงวัวได้
- กากเมล็ดมีโปรตีนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์
- ในประเทศอินเดียมีการใช้เมล็ดกระเจี๊ยบเพื่อไล่ผีเสื้อเจาะผ้า
- ในประเทศอินเดีย โรงงานผลิตน้ำตาลบางแห่งมีการใช้เมือกจากต้นนำมาใช้ในกระบวนการทำให้น้ำอ้อยสะอาด
- เปลือกต้นกระเจี๊ยบ แม้จะไม่เหนียวนักแต่ก็สามารถนำมาใช้ทอกระสอบ ทำเชือก เชือกตกปลา ตาข่ายดักสัตว์ ใช้ถักทอเป็นผ้าได้ หรือทำเป็นกระดาษ ลังกระดาษก็ได้
- เมือกจากผลกระเจี๊ยบสามารถนำมาใช้เคลือบกระดาษให้มันได้
- กระเจี๊ยบเขียวเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญสำหรับเกษตรกรไทย เนื่องจากต่างประเทศมีการสั่งซื้อกระเจี๊ยบของไทยปีละหลายล้านบาท โดยมีบริษัทที่ทำโครงการปลูกกระเจี๊ยบเขียวอย่างครบวงจรมาร่วมมือกับเกษตรกรไทยในหลายพื้นที่ช่วยกันปลูกเพื่อส่งออก
- สำหรับในต่างประเทศมีการนำกระเจี๊ยบเขียวไปผลิตแปรรูปได้อย่างหลากหลาย เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ทำเป็นอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็ง หรืออาหารสำเร็จรูป เช่น กระเจี๊ยบเขียวอบแห้ง หรือนำไปใช้ในอุตสาหกรรมขนมหวาน รวมไปถึงอุตสาหกรรมเครื่องหอม อุตสาหกรรมยา เช่น ทำเป็นยาผงและแคปซูล